ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

LPG FOR FORKLIFT






          
               
               รถโฟล์คลิฟท์ที่มีใช้กันตามโกดัง โรงงาน หรือห้างร้านต่างๆ นั้น เหมือนกับยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยเชื้อเพลิง หรือแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ และแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่               
         
               การขับเคลื่อนแบบเครื่องยนต์นั้น ต้องใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน แก๊สโซลีน แก๊ส L.P.G. เป็นต้น การใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่าการใช้น้ำมัน จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากพอสมควรสำหรับแก๊ส L.P.G. เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเนื่องจาก มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ทั้งภายใต้อากาศที่ร้อนและเย็น กล่าวได้ว่า มีการเผาไหม้ที่มีคุณภาพโดยไม่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ มีการซ่อม และบำรุงรักษาได้ง่าย มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์น้อยกว่าการใช้เครื่องยนต์เบนซินถึงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า  เป็นการรักษาเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้อย่างทนทาน เพราะเหลือน้ำมันตกค้างน้อย เนื่องจากน้ำมันจะระเหยไปจนเกือบหมด หัวเทียนมีอายุการใช้งานนานกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาถูกการใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงนั้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ใช้ระยะเวลาในการเติมมาก และหาเติมได้ยากกว่าน้ำมันเช่นกัน ดังนั้น ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทำให้เกิดประโยชน์ และคุ้มค่าอย่างแท้จริง







ถังก๊าซ ปตท. Forklift
     
          ✨ ชุดวาล์วบรรจุก๊าซ

                   🔴 วาล์วบรรจุก๊าซ พร้อมอุปกรณ์ควบคุมการบรรจุก๊าซฯ และท่อวัดระดับของเหลวคงที่ (Filler Valve with shut-off valve and fixed liquid level tube) มีจุดเด่นคือ มีอุปกรณ์อัตโนมัติ ช่วยตัดก๊าซ และมีท่อวัดระดับก๊าซ  เป็นตัวเสริม เพื่อป้องกันไม่ให้บรรจุถังก๊าซลงสู่ถัง เกิน 85% ของปริมาตรถังก๊าซ
                   🔴 ข้อต่อวาล์วบรรจุก๊าซ (Filler Valve Adaptor) ช่วยป้องกันไม่ให้ก๊าซ ไหลออกมาสู่ภายนอกถัง อันเกิดจากอุบัติเหตุและหรือการเปิดวาล์วบรรจุก๊าซ เล่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

          ✨ ชุดวาล์วจ่ายก๊าซ
                  🔵 วาล์วจ่ายก๊าซพร้อมวาล์วควบคุมการไหล (Discharge Valve with Excess Flow Valve) จุดเด่นคือมี Excess Flow Valve ที่ทำหน้าที่ตัดการจ่ายก๊าซ เมื่อท่อส่งก๊าซ หรือสายยางส่งก๊าซ เข้าสู่เครื่องยนต์เกิดอุบัติเหตุแตกหัก
                  🔵 ข้อต่อวาล์วจ่ายก๊าซ (Discharge Valve Adaptor) ช่วยป้องกันไม่ให้ก๊าซในถังไหลออกมาสู่ภายนอกถังอันเกิดจากอุบัติเหตุและหรือการเปิดวาล์วบรรจุก๊าซฯ เล่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งในการใช้งานจะต้องมีข้อต่อเฉพาะ (Vapor Coupling) ต่อเข้ากับวาล์วจ่ายก๊าซ จึงจะสามารถใช้งานได้
                  🔵 เกจวัดปริมาณก๊าซ (Content Gauge) วัดระดับปริมาณการบรรจุก๊าซ เข้าสู่ถังและวัดปริมาณก๊าซ คงเหลือจากการใช้งาน ซึ่งเหมือนกับเกจวัดปริมาณน้ำมันในถังน้ำมันรถยนต์
                  🔵วาล์วนิรภัยแบบระบาย (Safety Relief Valve) ระบายความดันก๊าซในถัง ไม่ให้มีความดันสูงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้( 375 PSI)





ขอบคุณข้อมูลจาก : ✿ pantip.com เเละ  goodforklift.blogspot.com 


WATTANA MOTOR WORKS 

จำหน่ายอะไหล่รถยก Forklift ทุกยี่ห้อ 

อะไหล่เเท้ , อะไหล่นำเข้า 

Tel : 02-223-4360-1 
02-223-9470
02-223-9657 แฟกซ์ : 02-621-4988
E-mail : sales.wmw@wattana-group.com
facebook : www.facebook.com/wattana.motorworks/










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การคำนวนที่หน้างาน ในกรณีที่ต้องการยกสิ่งของขนาดใหญ่เเละจุดศูนย์ถ่วงมีการเปลี่ยนแปลง

                         📖 จุดศูนย์ถ่วง ( load center ) เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของรถโฟล์คลิฟท์เป็นอย่างมาก ก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานควรตรวจสอบลักษณะของสิ่งของที่ต้องการยก ว่ามีขนาดและ น้ำหนักเท่าไร ควรอาศัยข้อมูลของรถโฟล์คลิฟท์รุ่นนั้น ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้มักจะระบุอยู่บนเนมเพลท (name plate) หรือคู่มือประจำตัวรถ และควรมีการปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำดังกล่าว ให้ระลึกเสมอว่าสิ่งของที่มีน้ำหนักเท่ากัน แต่รูปร่างต่างกัน จะส่งผลต่อจุดศูนย์ถ่วง ซึ่งท้ายสุดจะส่งผลต่อเสถียรภาพในขณะปฏิบัติงาน                    🔘 1.คาดคะเนน้ำหนักสูงสุดที่บรรทุกได้อย่างปลอดภัยเสมอ เมื่อต้องการยกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ            🔘   2.ถ้าจุดศูนย์ถ่วงของสิ่งของ เกินกว่าจุดศูนย์ถ่วงของรถโฟล์คลิฟท์ ให้ลดน้ำหนักที่บรรทุก โดยคำนวณน้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ใหม่             🔘 3.ควรปรึกษาผู้ผลิตสำหรับขั้นตอนเเละกระบงนการต่างๆ ในกรณีที่ต้องมีการบรรทุกสิ่งของที่ใหญ่กว่าปกติ หรือต้องมีการบรรทุกที่ผิดแปลกไปจากเดิม              ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อขอทราบข้อมูลจากผู้ผลิตได้ ผู้ป

ป้ายเนมเพลท(name plate) ? รถยกโฟล์คลิฟท์ ดูกันยังไงนะ

ป้ายเนมเพลท คืออะไร ❓          🌟 ป้ายเนมเพลท  (Name Plate) 🌟 เป็นป้ายขนาดเล็ก มีรูปแบบเเตกต่างกันออกไปตามรูปแบบในการใช้งาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เเล้วป้ายเนมเพลท นิยมใช้เป็นป้ายคำเตือน ป้ายติดตู้ไฟฟ้า ตู้สวิทซ์ เครื่องจักร เเละอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภท                        วันนี้เราจะมาบอกวิธีการอ่าน  ป้ายเนมเพลท  แบบง่ายๆ ให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้ ซึ่งเราจะยกตัวอย่าง ป้ายเนมเพลท  ของรถยกโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อต่างๆ มาเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา ส่วนจะอ่านยากง่ายแค่ไหน มาดูกัน  👌   💨  ตัวอย่างป้ายเนมเพลทรถยกโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ KOMATSU 💨 ตัวอย่างป้ายเนมเพลทรถยกโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ MITSUBISHI 💨 ตัวอย่างป้ายเนมเพลทรถยกโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ NISSAN 💨 ตัวอย่างป้ายเนมเพลทรถยกโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ  TCM 💨ตัวอย่างป้ายเนมเพลทรถยกโฟล์คลิฟท์ยี่ห้อ TOYOTA WATTANA MOTOR WORKS  จำหน่ายอะไหล่รถยก Forklift ทุกยี่ห้อ   อะไหล่เเท้ , อะไหล่นำเข้า   Tel : 02-223-4360-1  02-223-9470 02-223-9657  แฟกซ์ :   02-621-4988 E-mail : sales.wmw@wattana-group.co m f

คู่มือการใช้รถยก Forklift อย่างปลอดภัย

                                        ➽  1.  เมื่อมีการทำงานโดยให้รถยก ยกของลงจากรถบรรทุก ต้องแน่ใจว่ารถบรรทุกได้มีก ารเบรค หรือมีวัสดุกันไม่ให้เกิดกา รไหลของรถเรียบร้อย เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจะเก ิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถยก             ➽ 2.  เมื่อมีการบรรทุกของที่ใหญ่ จนมีการบังสายตามองข้างหน้า ไม่เห็น ผู้ช่วยบอกทางจึงเป็นสิ่งที ่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความป ลอดภัยในการเคลื่อนย้าย             ➽ 3. รถยก เป็นรถที่ออกแบบมาเพื่อการใ ช้ยกสิ่งของ ไม่ควรใช้เป็นลิฟต์สำหรับคน   เพราะอาจเกิดอันตรายได้             ➽ 4. หากขึ้นที่ชันให้เดินหน้าขึ ้น ลงลาดที่ต่ำให้ถอยหลังลง และควรเดินหน้าหรือถอยหลังด ้วยความเร็วช้าๆ            ➽ 5. ไม่ควรนำรถยกไปยกอย่างอื่นท ี่ไม่ได้ออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบรรทุกผู้คนบนรถยกเป็นสิ ่งที่ไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง             ➽ 6. ไม่ควรจอดรถไว้ในพื้นที่ที่ มีสิทธิ์ไหลลง เช่นพื้นที่ลาดเอียง เเละไม่ควรลืมดับเครื่องพร้ อมห้ามล้อเด็ดขาด             ➽ 7. ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเติมน้ำมั น หรือตอนตรวจสอบแบตเตอรี่ ห้ามสูบบุหรี่ หรือก่อประ